ทรัพยากรสารสนเทศ

โครงสร้างทรัพยากรสารสนเทศ : ทรัพยากรสารสนเทศ สื่อตีพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์
ทรัพยากรสารสนเทศ:ความหมาย
- สารสนเทศทุกรูปแบบที่ห้องสมุดได้คัดเลือก จัดหา วิเคราะห์ และจัดเก็บรวบรวมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถ เข้าถึงได้อย่างสะดวก สบาย และรวดเร็ว
- สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลความรู้ในเรื่องต่างๆ ดังนั้นทรัพยากรสารสนเทศจึงเปรียบเสมือนตัวกลางที่ใช้ในการแพร่กระจายความรู้ของบุคคลหนึ่งไปยังคนอื่นๆที่ต้องการรับความรู้นั้น


ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
แบ่งตามแหล่งที่มาของทรัพยากรสารสนเทศ เป็น 3 แหล่ง คือ
1. วรรณกรรมปฐมภูมิ
2. วรรณกรรมทุติยภูมิ
3. วรรณกรรมตติยภูมิ

แบ่งตามลักษณะของสารสนเทศ เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1. วัสดุตีพิมพ์ (Printed materials)
2. วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-Printed materials)

1.วรรณกรรมปฐมภูมิ(Primary Source)
เป็นวรรณกรรมที่เกิดจากความคิด ความริเริ่ม การค้นพบ และ ประสบการณ์ของผู้ผลิตเองสำหรับนำไปใช้งานหรือเผยแพร่แก่สาธารณชน เช่น
1.1 วารสาร
1.2 เอกสารการประชุม
1.3 สิ่งพิมพ์รัฐบาล
1.4 รายงานเชิงวิชาการ
1.5 สิทธิบัตรและมาตรฐาน
1.6 วิทยานิพนธ์
1.7 วรรณกรรมการค้า
1.8 ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม

2. วรรณกรรมทุติยภูมิ(Secondary Source)
เป็นวรรณกรรมที่เกิดจากการรวบรวม วิเคราะห์เลือกสรร ประมวล และเรียบเรียงข้อมูลมาจากวรรณกรรมปฐมภูมิ หรือเรียกว่า วรรณกรรมอันดับสอง หมายถึง สิ่งพิมพ์หรือเอกสารที่นำเอาเรื่องราวจากวรรณกรรมปฐมภูมิมาเรียบเรียงเข้าเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้า ข้อมูลเนื้อหาในวรรณกรรมทุติยภูมิไม่ใช่สิ่งที่ค้นพบใหม่ อาจจะเป็นสิ่งพิมพ์วิจารณ์ การค้นคว้า ทดลอง การวิจัย หรือบทวิจารณ์ความก้าวหน้าในสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น
2.1 ตำรา
2.2 เอกสารเฉพาะเรื่อง
2.3 สารานุกรม
2.4 พจนานุกรม
2.5 คู่มือ
2.6 ข้อมูลและสถิติที่รวบรวมไว้
2.7 บทวิจารณ์และวารสารที่ตีพิมพ์บทวิจารณ์
2.8 คู่มือการทำงาน
2.9 หนังสือแผนที่และ แผนที่
2.10 ดรรชนีและบทคัดย่อ

3. วรรณกรรมตติยภูมิ(Tertiary Source)
เป็นวรรณกรรมที่เกิดจาก การรวบรวม วิเคราะห์ เลือกสรร ประมวล และเรียบเรียงข้อมูลจากวรรณกรรมทุติยภูมิเป็นหลัก เช่น เอกสารคำสอน รายงานของนักศึกษา และคู่มือศึกษากระบวนวิชาต่าง ๆ เป็นต้น จากทัศนะต่าง ๆ ที่มีผู้จำแนกประเภท ของวรรณกรรมนั้นจะทำให้ผู้ที่ศึกษาวรรณกรรม สามารถที่จะเข้าใจถึงรูปแบบต่าง ๆ ของวรรณกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการแบ่งตามคุณค่าที่มุ่งให้กับผู้อ่าน และตามรูปแบบหรือวัสดุและสื่อของการเสนอวรรณกรรม จะช่วยให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมสามารถศึกษารูปแบบวรรณกรรมในศาสตร์ต่าง ๆ เชิงวิจารณ์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
3.1 หนังสือแนะนำวรรณกรรม
3.2 บรรณานุกรม

4.สารนิเทศในรูปที่คอมพิวเตอร์อ่านได้
สื่อไม่ตีพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ฐานข้อมูลบรรณานุกรมและฐานข้อมูลเอกสาร
1.วัสดุตีพิมพ์ (Printed materials) หมายถึง วัสดุสารนิเทศที่มีการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ต่างๆ บนแผ่นกระดาษ และสื่อความหมายในรูปของตัวพิมพ์หรือภาพลักษณ์จำแนกออกได้ 5 ประเภท
1.1 หนังสือ (Books)
1.2 วารสารและนิตยสาร (Periodicals or magazines)
1.3 หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
1.4 จุลสารหรือ อนุสาร (Pamphlets)
1.5 กฤตภาค (Clippings)

หนังสือส่วนประกอบของหนังสือ
1. ส่วนปก (Binding)
2. ส่วนเริ่มต้น (Preliminary page)
3. ส่วนเนื้อหา (Text or body of the book)
4. ส่วนท้ายหรือส่วนเสริมเนื้อหา (Auxiliary pages)

ประเภทของหนังสือ
1. หนังสือสารคดี (Non-fiction) = มุ่งให้ความรู้
2. หนังสือบันเทิงคดี (Fiction) = มุ่งให้ความบันเทิงเพลิดเพลิน
3. ตำรา (Textbook) = จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอน
4. หนังสืออ้างอิง (Reference book)
5. สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government publications)
6. วิทยานิพนธ์ (Theses / Dissertation)

วารสารและหนังสือพิมพ์ (Periodicals and newspaper)
วารสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกสม่ำเสมอ เสนอเนื้อเรื่องในรูปของบทความ แบ่งเป็นคอลัมน์เขียนโดยผู้เขียนหลายคน เนื้อหามีความหลากหลาย การนำเสนอเนื้อหาอาจจะจบภาคในฉบับนั้นๆหรือ อาจจะต้องติดตามในฉบับต่อไป

ส่วนประกอบของวารสาร
1. ปก : มีภาพและสีสวยงามสะดุดตา ข้อความบนปกจะปรากฎ ชื่อวารสาร ตัวเลขบอกปีที่/ ฉบับที่ วัน เดือน ปีของวารสาร ข้อความที่ระบุกำหนดออก
2. หน้าปกใน ประกอบด้วยชื่อวารสาร วัตถุประสงค์ในการจัดทำ สถานที่จัดพิมพ์และจัดจำหน่าย ราคาและการบอกรับ และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)
3. หน้าสารบัญ บอกรายชื่อบทความ คอลัมน์ บอกชื่อผู้เขียนและเลขหน้าของบทความ
4. เนื้อเรื่อง นำเสนอหลายรูปแบบ เช่น บทความ สารคดี เรื่องสั้นจบในฉบับ

ประเภทของวารสาร
1. นิตยสาร (Magazine) สิ่งพิมพ์ที่ให้ความบันเทิง
2. วารสารทางวิชาการ (Journal) สิ่งพิมพ์ที่จัดพิมพ์โดยสมาคมทางวิชาชีพ สถาบันหรือหน่วยงานวิชาการ 3. วารสารวิเคราะห์และวิจารณ์ข่าว (Review journal) สิ่งพิมพ์ที่นำเสนอข่าว แต่นำเสนอในลักษณะการวิจารณ์ วิเคราะห์ข่าวสาร

หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
เป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างต่อเนื่อง โดยปรกตินำเสนอข่าวสารต่างๆ เป็นรายวัน, ราย 3 วัน
ประเภทของหนังสือพิมพ์
1. Hardnew นำเสนอข่าวหนักๆ เช่น ข่าวเศรษฐกิจ การเมือง
2. Softnew นำเสนอข่าวแบบชาวบ้าน

จุลสาร
จุลสาร (Pamphlets) สิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาสั้นๆ มีความหนาไม่มาก โดยประมาณ คือ 60 หน้า สิ่งพิมพ์ที่ให้สารสนเทศเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ส่วนมากเป็นสารสนเทศที่ทันสมัยอยู่ในความสนใจของบุคคลทั่วไป

กฤตภาค (Clippings)
ข่าว หรือ บทความ เหตุการณ์สำคัญ รูปภาพที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ , วารสารหรือจุลสารต่างๆ แล้วนำมาติดลงบนกระดาษ A4 โดยบรรณารักษ์จะกำหนดหัวเรื่อง พร้อมระบุแหล่งที่มา ลักษณะการจัดเก็บ จะมีการจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบโดยใส่แฟ้มไว้

2.วัสดุไม่ตีพิมพ์ (Non-printed materials)
วัสดุใดก็ตามที่ไม่อยู่ในรูปของตัวพิมพ์และสามารถสื่อความหมายจากข้อมูลที่บรรจุอยู่ได้ จำแนกออกได้ดังนี้
2.1 ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscripts)
2.2 โสตทัศนวัสดุ (Audio visual materials)
2.2.1 โสตวัสดุ
2.2.2 ทัศนวัสดุ
2.3 วัสดุย่อส่วน (Microforms)
2.4 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic medias)
2.1 ต้นฉบับตัวเขียน (Manuscripts)
เป็นลายมือผู้เขียน หรือต้นฉบับของผู้แต่งก่อนที่จะนำไปเผยแพร่ เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่มีคุณค่าต่อการศึกษาด้านประวัติ วัฒนธรรม และประวัติผู้เขียน ซึ่งต้นฉบับตัวเขียนมีหลายลักษณะ คือ
2.1.1 จารึกโบราณ ได้แก่ จารึกบนวัตถุต่าง ๆ เช่น จารึกบนดินเหนียว จารึกบนแผ่นทอง แผ่นเงิน หรือแผ่นโลหะอื่น และศิลาจารึก
2.1.2ต้นฉบับตัวเขียนโบราณ ได้แก่ การเขียนบนกระดาษปาปิรัส แพรไหม และ หนังสัตว์ สมุดไทย ใบลาน
2.1.3 ต้นฉบับตัวเขียนรุ่นใหม่ เป็นต้นฉบับตัวเขียนของงานด้านวรรณกรรม ด้านประวัติศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ เช่น ต้นฉบับนวนิยาย บทละคร บทกวี จดหมายโต้ตอบ ต้นฉบับ โน้ตเพลง ภาพร่าง แบบร่างลวดลาย เป็นต้น
2.2 โสตทัศนวัสดุ (Audio-visual materials)
เป็นวัสดุสารสนเทศที่มีทั้งภาพ และเสียงควบคู่กัน เช่น
* ภาพยนตร์
* วิดีทัศน์
* ภาพนิ่งประกอบเสียง หรือ สไลด์ประกอบเสียง
2.2.1 โสตวัสดุ(Audio materials)
วัสดุสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดโดยผ่านประสาทหู
- แถบบันทึกเสียง หรือ เทปบันทึกเสียง (Phonotape)
- แผ่นเสียง (Phonodisc)
- คอมแพคดิสค์ หรือ แผ่นดิสก์(Compact disc)
2.2.2ทัศนวัสดุ (Visual materials)
เป็นวัสดุที่ผู้รับสารสนเทศใช้สายตารับรู้ อาจดูด้วยตาเปล่า หรืออาจใช้เครื่องฉายช่วยขยายภาพ หรือ เนื้อหาสารสนเทศก็ได้ เช่น
· รูปภาพ
· แผนที่
· ภาพเลื่อน หรือ ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
· ภาพนิ่ง หรือ สไลด์ (Slides)
· ภาพแผ่นใส
· หุ่นจำลอง หรือของตัวอย่าง
2.3วัสดุย่อส่วน (Microforms)
เป็นวัสดุที่เก็บข้อมูลไว้ด้วยการถ่ายหรือย่อภาพ หรือ ข้อมูลต่างๆ ลงไว้โดยเป็นฟิล์ม หรือเป็นบัตรกระดาษพิเศษ เช่น
- ไมโครฟิล์ม
- ไมโครฟิช
- ไมโครการ์ด
2.4 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic materials)
สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เวลาใช้ต้องมีเครื่องมือแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสารสนเทศที่ค้นคืนได้มีทั้งภาพและเสียง
2.4.1 ซีดี-รอม (CD-ROM = Compact Disc Read Only Memory)
2.4.2 ดีวีดี (DVD = Digital Video Disc)
2.4.3 สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing)
สิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและต้องอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ และเผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ฐานข้อมูลซีดี-รอม
- ฐานข้อมูลออนไลน์
- ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น (OPAC)

ประเภทของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book--e-book) หนังสือที่จัดเก็บไว้ในรูปของดิจิทัลและต้องอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่อาจจัดเผยแพร่ทางเว็บไซต์
2. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic journal--e- journal) วารสารที่จัดเก็บไว้ในรูปของดิจิทัลและต้องอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่อาจจัดเผยแพร่ทางเว็บไซต์ เช่น www.businessweek.com (username:eaulib,password:journal)
3. หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic newspaper e-newspaper) หนังสือพิมพ์ที่จัดเก็บไว้ในรูปของดิจิทัลและต้องอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่ อาจจัดเผยแพร่ทางเว็บไซต์
4. จดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic newsletter e- newsletter) จดหมายข่าวที่จัดเก็บไว้ในรูปของดิจิทัลและต้องอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การเผยแพร่ อาจจัดเผยแพร่ทางเว็บไซต์